วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

     ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software) 


เป็นโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทได้แก่




2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น6ประเภทดังต่อไปนี้

-ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ของคุณสามารถใช้จัดเก็บข้อมูลและใช้จัดการข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการจัดเก็บเรียกว่า “ฐานข้อมูล” ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่สร้างข้อมูลและจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียกค้นข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การเพิ่มข้อมูล

-ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ในการสร้าง แก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดเก็บแบบเอกสาร เอกสารที่ผู้ใช้พิมพ์จะถูกจัดเก็บเป็นข้อมูล(file)สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้และสั่งพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ได้

-ซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนการดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถสร้างกราฟเพื่อนำเสนอได้

-ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สร้างเอกสารที่ประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง ภาพเคลื่อนไหว นิยมใช้ในการนำเสนอข้อมูลในการบรรยายในชั้นเรียนหรือหอประชุม

-ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง มีลูกเล่นหลากหลาย ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ทุกด้าน

-ถูกพัฒนาเพื่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเติบโตของอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มมากขึ้น

การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์

การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานมีขั้นตอนดังนี้
1. สำรวจงานที่ผู้ใช้ต้องการใช้ซอฟต์แวร์อย่างละเอียดว่ามีลักษณะงานแบบใด
2. สำรวจฮาร์ดแวร์และระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการความเร็วของหน่อยประมวลผลกลาง ความจุของหน่วยความจำหลัก ความจุของหน่วยความจำรอง และความจุของการ์ดแสดงผล
3. ทดลองใช้ซอฟต์แวร์อย่างน้อย 15 นาที เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งานโดยใช้งานง่าย ไม่มีข้อผิดพลาด มีระบบความช่วยเหลือ มีคู่มือการใช้งานที่อ่านเข้าใจง่าย
4. ศึกษาเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ
5. ศึกษาข้อมูลบริการหลังการขายและระยะเวลาในการรับประกัน
6. ทำความคุ้นเคยกับการใช้ซอฟต์แวร์ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำไปใช้งานและควรเลือกบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เปิดโอกาสให้คืนซอฟต์แวร์ที่ซื้อไปไม่น้อยกว่า 30 วัน





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น